โยคะเบื้องต้น: [10] เคล็ดลับสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกโยคะมือใหม่
การเดินเข้าสู่คลาสเรียนโยคะครั้งแรกคุณอาจทำให้คุณรู้สึกประหม่า มันอาจรู้สึกเหมือนกับว่าทุกคนเป็นสมาชิกในสโมสรนั้น แต่ยกเว้นคุณ ไม่ต้องกลัวอีกแล้ว หยิบเสื่อโยคะ, บล็อกโยคะ, อุปกรณ์พื้นฐานการฝึกโยคะ เข้าคลาสเรียนโยคะไปด้วย และถ้าคุณเป็นมือใหม่โยคะให้อ่านเคล็ดลับ 10 ข้อเพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นท่าโยคะพื้นฐานอย่างราบรื่น
1. เริ่มต้นการฝึกที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเอง
ขอแนะนำให้ติดต่อสตูดิโอที่คุณจะฝึกเพื่อขอคำแนะนำสำหรับชั้นเรียนที่เหมาะสำหรับคุณก่อนเข้าไปฝึกจริง หากคุณเคยบาดเจ็บหรือมีข้อจำกัดต่างๆ ในการออกกำลังกาย เล่าประวัติของคุณให้พวกเขาทราบ แม้จะมีชั้นเรียนโยคะสำหรับ all level ที่มือใหม่อย่างคุณเข้าไปร่วมได้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงครูผู้ฝึกสอนอยู่เสมอ ดังนั้นอย่าเขิลอายที่จะแจ้งเจ้าของสตูดิโอหรือผู้จัดการ พวกเขาสามารถช่วยคุณหาจุดเริ่มต้นในการฝึกโยคะที่ดีที่สุดได้
การเริ่มต้นในชั้นเรียนโยคะที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มต้น คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโยคะพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตำแหน่งของร่างกาย และปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการหายใจ ในกรณีที่ไม่มีชั้นเรียนสำหรับผู้เริ่มต้นโดยเฉพาะ ขอแนะนำให้ผู้เริ่มต้นฝึกโยคะมือใหม่ทุกคน เริ่มเรียนในชั้นเรียนที่มุ่งเน้นการยืดกล้ามเนื้อและการหายใจ โดยครูผู้ฝึกสอนดำเนินคลาสอย่างช้าๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณสบายใจในการเรียนรู้ท่าทางต่างๆ และการหายใจกับเพื่อนร่วมชั้นที่เป็นผู้เริ่มต้นฝึกโยคะมือใหม่เช่นกัน สำหรับนักเรียนจำนวนมากมักจะคิดว่าโยคะที่ออกแบบมาสำหรับผู้เริ่มต้น มักจะฝึกท่าพื้นฐานที่ง่ายๆ ขณะที่คนอื่นๆ ต้องการเรียนในคลาสที่เข้มงวดมากขึ้น แต่มันมีเหตุผลมากกว่าการที่คุณจะเรียนรู้การมีวินัยในการฝึกฝน มากกว่าเร่งรีบไปยังชั้นเรียนที่คุณยังไม่พร้อม
2. ไม่ใส่รองเท้า/ถุงเท้าในขณะฝึก
โดยทั่วไปรองเท้าไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในห้องฝึก/เรียนโยคะ เมื่อนักเรียนเข้ามาในห้องฝึกนักเรียนส่วนใหญ่ก็ถอดถุงเท้าออกด้วย ทำไมนะหรอ การถอดรองเท้าเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพและช่วยให้ห้องฝึก/เรียนโยคะสะอาด ถุงเท้ามีแนวโน้มที่ทำให้คุณลื่นบนเสื่อโยคะ ดังนั้นเท้าเปล่าปลอดภัยกว่า
3. ทานอาหารอย่างน้อย 90 นาทีก่อนคลาส
ควรงดรับประทานอาหารก่อนการฝึกปฏิบัติ ดังนี้ อาหารมื้อหนัก เช่น อาหารตามมื้ออาหาร อย่างน้อย 3 ชั่วโมง อาหารมื้อเบา เช่น อาหารว่าง (ขนมปัง, แซนด์วิชฯลฯ) อย่างน้อย 1 ชั่วโมง 30 นาทีเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ร่างกาย เนื่องจากหากท้องอิ่มอาจทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัวในขณะฝึกปฏิบัติได้
4. ไปถึงสตูดิโอก่อนที่คลาสจะเริ่ม
ลองมาถึงประมาณ 15 นาทีก่อนที่คลาสจะเริ่ม จะช่วยให้คุณมีเวลาเตรียมตัวก่อนเข้าคลาส เช่น เข้าห้องน้ำ ทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย (หรือกรณีที่ปวดปัสสาวะ อุจาระในระหว่างทำ ควรไปถ่ายเสียก่อนไม่ควรฝืนฝึกฝนเป็นอันขาด) และปรับตัวให้คุ้นเคยกับห้องเรียน เตรียมพร้อมสำหรับพลังงานและความกระปรี้กระเปร่าของคุณเข้าไปฝึกในคลาสด้วยละ นักเรียนใหม่ในชั้นเรียนมักจะสารภาพว่าพวกเขามีความกังวลก่อนจะเริ่มเรียนในคลาสแรก ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติมาก ดังนั้นพยายามอย่าเพิ่มความเครียดของตัวเองโดยการเข้าห้องเรียนช้าจะดีกว่า
แนะนำข้อมูล สำหรับใครที่กำลังค้นหาโยคะสตูดิโอในกรุงเทพฯ
5. แนะนำตัวเอง
อย่าลืมแนะนำตัวเองและแจ้งให้ครูทราบว่าคุณยังใหม่กับโยคะ อย่าอายที่จะแจ้งเรื่องนี้ เนื่องจากเหล่าคุณครูทั้งหลายก็ตื่นเต้นไม่น้อยที่จะฟังคุณพูดถึงความท้าทายที่มาเริ่มฝึกโยคะ ครูของคุณสามารถให้คำแนะนำ และช่วยแก้ไขสำหรับโยคะบางท่าที่เป็นประโยชน์กับตัวคุณเองได้
6. เลือกตำแหน่งที่ดีในห้องเรียน
หลังจากที่ได้สัมภาษณ์ครูฝึกหลายคนที่ผ่านประสบการณ์ในการสอนโยคะมาหลายปี เราได้ตระหนักว่าการเลือกตำแหน่งด้านหลังของชั้นเรียนดูเหมือนจะเป็นความชอบส่วนตัวของคนจำนวนมาก ชั้นเรียนโยคะไม่มีกฏในเรื่องการเลือกตำแหน่งที่จะฝึก และนักเรียนใหม่จำนวนมากจะเลือกใช้แถวหลังเป็นตำแหน่งในการวางเสื่อโยคะของพวกเขา อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับรูปแบบของสตูดิโอและจำนวนของคนในชั้นเรียน มันอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่อย่าลืมวางเสื่อโยคะไว้ที่ตำแหน่งที่คุณสามารถได้ยินและเห็นครูได้ดีที่สุด
7. เลือกจุดโฟกัสในการฝึก
ชั้นเรียนโยคะส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยฝึกการหายใจ ก่อนที่ไปยังการฝึกโยคะท่าต่างๆ ครูฝึกอาจแนะนำหัวข้อหรือกล่าวถึงท่าโยคะที่จะสอนสำหรับชั้นเรียนนั้นๆ ลองใช้เวลานี้เพื่อกำหนดสมาธิและโฟกัสการฝึกของคุณเอง ตัวอย่างเช่น คุณอาจตั้งใจที่จะมุ่งเน้นการฝึกไปที่การหายใจลึกๆ ในชั้นเรียน หรือฝึกการไม่ตัดสินตัวเองหรือคนอื่น
การแสดงความขอบคุณสำหรับโอกาสในการใช้โยคะในการดูแลร่างกาย และจิตใจของคุณเป็นอีกแนวทางหนึ่งในเลือกจุดโฟกัสของคุณ ไม่ว่าคุณเลือกจุดโฟกัสอะไรก็ตามแต่ในการฝึก คุณควรระลึกถึงทุกครั้งที่คุณต้องการแรงบันดาลใจหรืออาจใช้เหตุผลในการเข้าชั้นเรียนโยคะก็ไดเช่นกัน
8. โยคะไม่ใช่การแข่งขัน
โยคะไม่ใช่การแข่งขัน ไม่มีคะแนนให้ ไม่มีใครชนะหรือแพ้ เราฝึกฝนความก้าวหน้าไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบ ดังนั้นถ้าเพื่อนของคุณสามารถวางก้นลงไปได้ลึกกว่าในท่า Chair pose บางทีเธออาจจะฝึกซ้อมมานานแล้วหรือร่างกายของเธอแตกต่างจากคุณทำให้เธอวางก้นลงไปได้ลึกกว่า ดังนั้นให้คุณสนใจและมุ่งฝึกฝนความก้าวหน้าของตัวคุณเองเพื่อไปยังสเต็ปที่ท้าทายคุณมากขึ้นในลักษณะที่เหมาะสมกับร่างกายและความต้องการของคุณ
9. สนุกกับท่าศพ Shavasana (Corpse Pose)
สำหรับนักเรียนหลายคนทั้งที่เคยฝึกครั้งแรกและฝึกโยคะมาสักพัก “ท่าศพ – shavana” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Corpse Pose อาจเป็นท่าโยคะที่ท้าทายที่สุดในชั้นเรียน พวกเราหลายคนอาจคุ้นเคยกับการที่จะต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาในการฝึก การนอนนิ่งๆ และอยู่กับความคิดของตัวเอง โดยไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายเพื่อลดการหันเหความสนใจของเรา เพื่อให้เราผ่อนคลายและอยู่กับจิตของตนเอง อาจเป็นประสบการณ์ใหม่ ในการฝึกโยคะของคุณได้
นักเรียนใหม่หลายคนยังบอกด้วยว่าพวกเขารู้สึกเครียดใน “ท่าศพ – shavana” เพราะพวกเขาไม่สามารถหยุดความคิด และปล่อยให้ตัวเองผ่อนคลายได้ตามที่ต้องการ โดยความคิดที่ว่านี้คือ พวกเขาคิดว่าจะต้องหยุดคิดในขณะทำ “ท่าศพ – shavana” อย่างไร ซึ่งมันเป็นความเข้าใจผิด แทนที่คุณพยายามที่จะหยุดคิด คุณควรปล่อยความคิดเหล่านี้ และโฟกัสการหายใจของคุณแทน
10. ฝึกต่อไปเรื่อย ๆ
โยคะเป็นการสะสมประสบการณ์การฝึกกับแต่ละชั้นเรียนที่คุณได้ฝึกมา โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าการฝึกโยคะมีผลกระทบต่อชีวิตของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรามักจะเห็นใบหน้าที่สว่างสดใส ดูมีชีวิตชีวามากขึ้นของคนที่เพิ่งออกจากชั้นเรียน แต่ถ้าโยคะไม่คลิกสำหรับคุณในทันที ให้เวลากับมัน ลองเข้าไปฝึกในชั้นเรียนที่แตกต่างกัน และครูที่แตกต่างกันไปจนกว่าคุณจะพบว่าอะไรเหมาะสมสำหรับคุณ ความขยันและความสม่ำเสมอคุณ จะทำให้คุณเก็บเกี่ยวสิ่งวิเศษมากมายจากโยคะ!
Author: Warunee Jamroenpoon
Muay
Love this an article ka 🙂
Morn
ขอบคุณค่าาาาา